สหกรณ์การเกษตรท่าวังผา จำกัด
ตั้งอยู่เลขที่ 416 หมู่ที่ 7 ถนนน่าน - ทุ่งช้าง ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140
โทรศัพท์ 054-799-060, 054-755-1523
โทรสาร 054-755-572
เว็บไซต์ www.cooptp.com
E-mail :info@cooptp.com
สาระน่ารู้สำหรับสมาชิก
สหกรณ์การเกษตร คือ องค์การที่ผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรรวมกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อนายทะเบียนสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก และช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น
สมาชิกสหกรณ์การเกษตรท่าวังผา จัด ปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- สมาชิกสามัญ ได้แก่บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ถ้าต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ เสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า(ค่าสมัคร) คนละ 50 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าหุ้นแรกเข้า 500 บาท และต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับสหกรณ์ ข้อที่ 30 ดังนี้
1. เป็นบุคคลธรรมดา และบรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทย
2. เป็นผู้ที่มีอาชีพทางการเกษตรกรรมและมิกิจการร่วมกันตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
3. ตั้งบ้านเรือน และประกอบอาชีพเกษตรกรอยู่ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
4. เป็นผู้ซื่อสัตย์ มีชื่อเสียงดี ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ และรู้จักประหยัด
5. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
6. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากสหกรณ์ใด ๆ โดยมีความผิด เว้นแต่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกออก
8. ไม่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรอื่นที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
2. สมาชิกสมทบ (เดิมเรียกว่าผู้สมัครใช้บริการ) ปัจจุบันกฎหมายของสหกรณ์ มาตรา 41 และตามข้อบังคับของสหกรณ์ หมวดที่ 6 ได้กำหนดให้สหกรณ์การเกษตรสามารถรับสมาชิกสมทบได้ ดังนั้น สมาชิกสมทบ ได้แก่ ผู้ที่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า คนละ 50 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระค่าหุ้นแรกเข้า ไม่ต่ำกว่า 20 หุ้น ๆ ละ 10 บาท ด้วยความสมัครใจ ซึ่งจะเข้าสังกัดกลุ่มสมาชิกหรือไม่ก็ได้ และมีความประสงค์จะใช้บริการต่าง ๆ ของสหกรณ์เป็นประจำ ถ้าต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบของสหกรณ์ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับสหกรณ์ ข้อ 45 ดังนี้
- เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ และมีความสะดวกที่จะดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์
- เป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทย
- เป็นบิดา มารดา สามี ภรรยาหรือบุตรของสมาชิก หรือ เป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์
- เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงาม
- เป็นผู้ที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
สิทธิของสมาชิก คือ อำนาจที่สมาชิกจะกระทำการใด ๆ ได้ในสหกรณ์ ตามข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อที่ 33 มีดังต่อไปนี้
- เข้าร่วมประชุมใหญ่ เพื่อแสดงความคิดเห็น หรืออกเสียงลงคะแนน
- เข้าชื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ
- เสนอหรือได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินการหรือผู้ตรวจสอบกิจการ
- ได้รับบริการทางธุรกิจ และทางวิชาการจากสหกรณ์
- สิทธิอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์
หน้าที่ของสมาชิก คือ ภารกิจที่สมาชิกจะต้องกระทำ เพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์สามารถที่จะดำเนินไปได้ด้วยดี หน้าที่ที่สมาชิกต้องปฏิบัติมี ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ และคำสั่งของสหกรณ์
- เข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่สหกรณ์นัดหมาย
- ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
- สอดส่องดูแลกิจการสหกรณ์
- ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ พัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง
อุดมการณ์สหกรณ์(Coopertive Ldeology) คือ ความเชื่อร่วมกันว่าการช่วยตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์จะนำไปสู่การกินดีอยู่ดี มีความเป็นธรรมและสันติสุขในสังคม
หลักการสหกรณ์ (Cooperative Principles) คือ แนวทางที่สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้คุณค่าของสหกรณ์เกิดผลเป็นรูปธรรม หรือคำแนะนำ หรือกฎทั่วไปสำหรับสหกรณ์ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ หรืออีกนัยหนึ่งคือ แนวทางในการทำให้คุณค่าของสหกรณ์ ซึ่งเป็นนามธรรมบังเกิดผลเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย
หลักการสหกรณ์สากล 7 ประการ ได้แก่
- หลักการเปิดรับสมาชิกทั่วไปตามความสมัครใจ
- หลักการดำเนินกิจการตามหลักประชาธิปไตยโดยมวลสมาชิก
- หลักการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก
- หลักการปกครองตนเองด้วยความเป็นอิสระและเป็นกลาง
- หลักการให้การศึกษา ฝึกอบรม และข้อมูลข่าวสาร
- หลักการความร่วมมือระหว่างสหกรณ์
- หลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน
วิธีการสหกรณ์ (Cooperative Practices) คือ การนำหลักการสหกรณ์มาใช้ในการดำเนินกิจกรรม
ทางเเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิก โดยไม่ละเลยหลักการบริหารธุรกิจ
คุณค่าของสหกรณ์ (Coopertive Values) สหกรณ์อยู่บนพื้นฐานแห่งคุณค่าของการช่วยตนเอง
ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความเป็นประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความเป็นเอกภาพ สมาชิกสหกรณ์เชื่อมั่นในคุณค่าทางจริยธรรมแห่งความสุจริต ความเปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคมและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น โดยสืบทอดประเพณีปฏิบัติของผู้ริเริ่มการสหกรณ์
สาระน่ารู้! เกี่ยวกับธุรกิจของสหกรณ์ 6 ฝ่ายฯ และสมาคมฯ
ฝ่ายสินเชื่อ
ฝ่ายสินเชื่อให้บริการแก่สมาชิก ดังนี้
- การรับสมาชิกสามัญ
- ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 50 บาท
- ค่าหุ้นแรกเข้า 500 บาท
- เปิดบัญชีเงินฝากอย่างน้อย 100 บาท
- รวมเป็นเงิน 650 บาท
- การให้บริการด้านสินเชื่อ
2.1 การทำสัญญาเงินกู้ทุกประเภท
2.2 ตรวจสอบหลักทรัพย์และจำนองเพื่อประกันหนี้เงินกู้
2.3 รับชำระหนี้เงินกู้
2.4 สอบทาน, ตรวจสอบ, ติดตาม, เร่งรัดหนี้เงินกู้ตามสัญญาทุกประเภท
ลำดับความสำคัญการให้เงินกู้
- พิจารณาสมาชิกว่าอยู่ชั้นไหน, ประวัติการชำระหนี้
- วัตถุประสงค์ของการกู้เงิน(แผนการผลิต)
- หลักประกันเงินกู้ ซึ่งได้แก่ บุคคล หลักทรัพย์(ค้ำได้ 80 %) และทุนเรือนหุ้น(ค้ำได้ 80 %) ต้องมี 10,000 บาท ขึ้นไป และกู้ได้ไม่เกิน 8 เท่าของหุ้น หลังจากรวมหุ้นใหม่แล้ว
หลักเกณฑ์ในการให้เงินกู้
- ต้องมีหนังสือรับรองจากประธานกลุ่มมาด้วยทุกครั้ง ยกเว้นการเปลี่ยนสัญญา และกู้เท่าเดิมไม่ต้องมีก็ได้
- การขอกู้เงินครั้งใหม่ สมาชิกสามารถกู้กี่สัญญาก็ได้ แต่ต้องอยู่ในวงเงินหลักเกณฑ์ตามระดับชั้น และในวันรับเงินกู้ สมาชิกจะต้องชำระหนี้ที่ถึงกำหนด หรืองวดที่ผิดนัด หรือหนี้ค้างชำระทุกสัญญาก่อนรับเงินกู้
- กู้ได้ไม่เกิน 8 เท่าของทุนเรือนหุ้นที่รวมหุ้นใหม่แล้ว และต้องไม่เกินหลักประกันตามข้อที่ 3 ดังกล่าวข้างต้น
- วงเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และสิทธิพึงได้รับ ตามระดับชั้น ดังนี้
ชั้นที่ 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4
กู้ได้ไม่เกิน 1,000,000 700,000 500,000 200,000
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละต่อปี 6.50 8.00 8.50 9.0
ชั้นที่ 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4
ต้องมีทุนเรือนหุ้น 125,000 87,500 62,500 25,000
ค่ารักษาพยาบาลเบิกได้ตามจ่ายจริง
แต่ไม่เกินปีละ 3,000 2,000 1,000 500
(ดอกเบี้ยไม่ค้าง) (ไม่มีต้นเงินผิดชำระ- และดอกเบี้ยไม่ค้าง)
คู่สมรสของสมาชิกไม่เกินปีละ 1,000 500 – –
หมายเหตุ
- สมาชิกชั้นที่ 4 ที่ค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในวันสิ้นปีทางบัญชีฯ ให้มีสิทธิกู้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- สมาชิกทุกระดับชั้น ถ้ากู้เงินไม่เกินทุนเรือนหุ้นของตนเอง ให้คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 7.00 ต่อปี
- สมาชิกทุกระดับชั้น ถ้ากู้เงินเป็นวัสดุการเกษตร(วก.)ให้คิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 7.00 ต่อปี
- สมาชิกทุกระดับชั้น ถ้ากู้เงินในโครงการส่งเสริมอาชีพฯ ให้ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 7.00 ต่อปี
- การกู้เงินเป็นเงินสดทุกครั้ง สมาชิกจะต้องซื้อสินค้า หรือวัสดุอย่างน้อย ร้อยละ 0.50 บาท และต่อไปถ้าสมาชิกที่กู้เงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ต้องใช้บริการสถานีบริการน้ำมัน อย่างน้อย 250 บาทขึ้นไป ส่วนสมาชิกที่กู้ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป ต้องซื้อปุ๋ยอินทรีย์ตราสหกรณ์ฯท่าวังผา อย่างน้อย 1 กระสอบ
- สมาชิกทุกระดับชั้น ถ้าชำระหนี้เงินกู้ผิดสัญญาจะต้องเสียค่าปรับ ร้อยละ 3 ต่อปี การกู้เงินได้เท่าเดิม และไม่เกินวงเงินกู้ตามระดับชั้นที่สมาชิกอยู่ในปีบัญชีนั้น ๆ
- สมาชิกผู้กู้ และผู้ค้ำประกันให้นำสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อใช้ประกอบในการขอกู้เงินสด กู้เป็นวัสดุการเกษตร(วก.) และในการเปลี่ยนสัญญา
- สมาชิกที่กู้เงินตั้งแต่ 200,001 บาท ขึ้นไป จะต้องนำหลักทรัพย์มาจำนองเป็นประกันเงินกู้ทุกครั้งไป
- ราคาที่ดินที่สมาชิกจะนำมาจำนองเป็นประกันเงินกู้ ต้องใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ที่ให้ไว้กับสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาท่าวังผา และสำนักงานที่ดินทุกอำเภอที่เป็นปัจจุบัน(ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 4 ปี) โดยสมาชิกต้องนำที่ดินที่จะจำนองไปให้สำนักงานที่ดินฯ ตีราคาประเมินเองเพื่อใช้ประกอบการขอกู้เงินเป็นครั้ง ๆ ไป
- ถ้าสมาชิกผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งค้างชำระ ดอกเบี้ยเงินกู้ ณ วันที่ 31 มีนาคม ในปีบัญชีนั้น ต้องให้สมาชิกชำระดอกเบี้ยค้างก่อนจึงจะมีสิทธิ์ขอกู้เงินใหม่ เว้นแต่ผู้ขอกู้ใหม่เป็นสมาชิก ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 และหรือที่กู้เป็นวัสดุฯเท่านั้น โดยที่ผู้ขอกู้ต้องไม่ค้างชำระดอกเบี้ย
- สมาชิกที่จะกู้เงินเพิ่มได้จากเดิม ตามชั้นที่กำหนดจะต้องมีประวัติการชำระหนี้ไม่ผิดสัญญา ไม่มีดอกเบี้ยค้างในครั้งล่าสุ
- สมาชิกในครัวเรือนเดียวกัน สามารถกู้เงินเกิน 1 คน ได้ โดยสมาชิกในครัวเรือนเดียวกันจะค้ำประกันกันเองไม่ได้ และสมาชิกจะเป็นผู้ค้ำประกันกันเองเกิน 2 คน ในเวลาเดียวกันไม่ได้
- สมาชิกเข้าใหม่กู้เงินครั้งแรกได้ไม่เกิน 20,000 บาท และจะต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการฯ ของสหกรณ์ ทั้งสมาชิก และคู่สมรส
- การขอกู้เงินครั้งใหม่ของสมาชิกใหม่จะต้องห่างจากครั้งก่อนหน้านั้นอย่างน้อย 3 เดือน
- คณะกรรมการฯ จะพิจารณาอนุมัติเงินกู้เดือนละ 3 ครั้ง กำหนดการจ่ายเงินกู้ทุกวันที่ 1, วันที่ 10 และวันที่ 20 ของเดือน
- ก่อนการจ่ายเงินกู้ ทางสหกรณ์ฯ จะชี้แจงหลักเกณฑ์ฯ และให้การศึกษาอบรมฯ แก่สมาชิกทุกครั้ง
- สมาชิกที่กู้เงินจากสหกรณ์ฯ เกิน 150,000 บาท ขึ้นไป(อายุไม่เกินเกณฑ์) จะต้องทำประกันสินเชื่อบุคคลสินเชื่อกลุ่ม กับบริษัท สหประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) ส่วนกรณีสมาชิกที่มีอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไป วงเงินกู้ยืม ให้ฝ่ายสินเชื่อคัดกรองขั้นต้นก่อนตามความเหมาะสม ส่วนวงเงินกู้ยืมให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการ-ดำเนินการ และกรรมการเงินกู้เป็นราย ๆ ไป และจะต้องมีบันทึกแนบท้าย โดยมีคำยินยอมของทายาทร่วมรับผิดชอบในฐานะลูกหนี้ร่วม
- การตรวจสอบการใช้เงินกู้ จะทำหลังจากจ่ายไปแล้ว 1 – 6 เดือน
- ทางสหกรณ์ออกหนังสือเตือนชำระหนี้ก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระอย่างน้อย 1 เดือน ส่วนการออกติดตาม หนี้สินจะออกติดตามทุกเดือน
- ในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นวันครึ่งปีบัญชีของสหกรณ์ สมาชิกที่มีหนี้เงินกู้กับสหกรณ์ จะต้อง
ชำระดอก เบี้ยเงินกู้ครึ่งปีบัญชีให้กับทางสหกรณ์ฯ - ในการรับเงินกู้ทุกครั้ง สมาชิกผู้กู้จะต้องนำสมุดคู่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ไปลงรายการฝาก ถอน ผ่านบัญชีเงินฝากของตนเอง ด้วยทุกครั้ง
หลักเกณฑ์การให้เงินกู้เงินระยะปานกลางพิเศษ
- ต้องเป็นสมาชิก ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2
- ต้องมีทุนเรือนหุ้น ณ วันขอกู้เงิน จำนวน 20,000 บาท ขึ้นไป
- วงเงินกู้ จำนวนตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป (ยกเว้นโครงการพิเศษ หรือโครงการส่งเสริมอาชีพฯ ของสหกรณ์ฯ ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการดำเนินการ) และอาจจะได้งดชำระต้นเงินกู้ใน 3 ปีแรก
- วัตถุประสงค์ของการกู้ ต้องอยู่ในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้ฯ (ระยะปานกลางฯ)
- หลักประกัน ใช้บุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน ตามวงเงินที่กำหนดไว้ หากวงเงินกู้เกิน 200,001 บาท ขึ้นไปจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันด้วย
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้คิดตามระดับชั้นของสมาชิกในปีนั้น ๆ
- กำหนดชำระคืนเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี
หลักเกณฑ์การให้เงินกู้เงินระยะยาว
- ต้องเป็นสมาชิกชั้น ชั้นที่1 ชั้นที่ 2
- ต้องมีทุนเรือนหุ้น ณ วันขอกู้เงิน จำนวน 30,000 บาท ขึ้นไป
- วงเงินกู้ จำนวนตั้งแต่ 500,000 บาท ขึ้นไป (ยกเว้นโครงการพิเศษ หรือโครงการส่งเสริมอาชีพฯ ของสหกรณ์ฯ ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการดำเนินการ) และอาจจะได้งดชำระต้นเงินกู้ใน 5 – 6 ปีแรก
- วัตถุประสงค์ของการกู้ ต้องอยู่ในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้ฯ (ระยะยาว)
- หลักประกัน ใช้บุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน ตามวงเงินที่กำหนดไว้ และจะต้องมีหลักทรัพย์จำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อสหกรณ์ฯ เพิ่มตามวงเงินที่ขอกู้ที่เกินกว่าบุคคลค้ำประกันหรือใช้ที่ดินค้ำประกันอย่างเดียวก็ได้
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้คิดตามระดับชั้นของสมาชิกในปีนั้น ๆ
- กำหนดชำระคืนเสร็จภายในระยะเวลา 15 ปี
- โครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฯ และสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 ปี
หลักเกณฑ์การให้เงินกู้เงินระยะยาว
- ต้องเป็นลูกหนี้เงินกู้ที่ผิดสัญญาเกิน 5 ปี
- ต้องเป็นลูกหนี้ที่ผ่านการยื่นหนังสือทวงถาม (โนติ๊ส) มาแล้ว 2 ครั้ง
- ต้องชำระดอกเบี้ยค้าง และค่าปรับทั้งหมด ก่อนทำสัญญาประนอมหนี้ฯ
มติที่ประชุม ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ชุดที่ 47 ครั้งที่ 7 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบให้ถือใช้หลักเกณฑ์การให้เงินกู้ตามที่ได้เสนอไป โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป
การจัดชั้นสมาชิก
การจัดชั้นสมาชิก ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการธุรกิจของสหกรณ์ฯ ซึ่งทางสหกรณ์การเกษตร – ท่าวังผา จำกัด ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน (31 มีนาคม 2566) นับเป็นปีที่ 38 เพราะคะแนนการจัดชั้นสมาชิกจะบรรจุทุกธุรกิจลงไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งเน้นการปลุกให้สมาชิกทำธุรกิจ ระหว่างปีกับทางสหกรณ์ ทำให้ทุกธุรกิจของสหกรณ์บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนตัวสมาชิกเองก็จะได้รับผลดีจากการได้อยู่ในระดับชั้นที่ดี ตามผลงานที่ทำไว้ระหว่างปีกับทางสหกรณ์ คือการได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ตามระดับชั้นจากสหกรณ์ เช่น วงเงินกู้ยืม ประเภทเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่แตกต่างกันทำให้สมาชิกมีการแข่งขันกัน เกิดการเอาอย่างกันในทางที่ดี ซึ่งรายละเอียดคะแนนการจัดชั้นและสิทธิสมาชิกจะได้รับตามชั้นต่าง ๆ ณ วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี (ใช้คะแนนเต็ม 100 ) ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ที่ | องค์ประกอบในการ จัดชั้นสมาชิก | คะแนนที่ ใช้ชี้วัด | วิธีการนับคะแนนของแต่ละระดับชั้น |
---|---|---|---|
1 | หุ้นพิเศษระหว่างปีและ
ทุนเรือนหุ้นวันสิ้นปีฯ ชั้นที่ 1 = 20,000 บาท ชั้นที่ 2 = 10,000 บาท ชั้นที่ 3 = 500 - 9,990 บาท ชั้นที่ 4 ไม่กำหนดหุ้น | 25 คะแนน | ซื้อหุ้นพิเศษระหว่างปี 2,000 บาท ได้ 25 คะแนน ซื้อหุ้นพิเศษระหว่างปี 1,500 บาท ได้ 20 คะแนน ซื้อหุ้นพิเศษระหว่างปี 1,000 บาท ได้ 15 คะแนน ซื้อหุ้นพิเศษระหว่างปี 500 บาท ได้ 10 คะแนน ซื้อหุ้นพิเศษระหว่างปี 250 บาท ได้ 5 คะแนน |
2 | ธุรกิจสินเชื่อ | 20 คะแนน | ส่งชำระต้นเงินกู้ได้ตามสัญญา ดอกเบี้ยไม่ค้าง ได้ 20 ค. ต้นเงินกู้ผิดสัญญาระหว่างปี ดอกเบี้ยไม่ค้าง ได้ 15 ค. ต้นเงินกู้ผิดสัญญา/งวดเกิน 1 ปี ดอกเบี้ยไม่ค้าง ได้ 10 ค. ต้นเงินกู้ผิดสัญญา/ผิดงวดและมีดอกเบี้ยค้าง ได้ 0 ค. |
3 | การฝากเงินระหว่างปี(ทุกประเภท) ได้แก่เงินฝากออมทรัพย์ และ เงินฝาก ออมทรัพย์พิเศษ | 10 คะแนน | ฝากเงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป ได้ 10 คะแนน ฝากเงินตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป ได้ 6 คะแนน ฝากเงินตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป ได้ 3 คะแนน ฝากเงินไม่ถึง 3,000 บาท ได้ 1 คะแนน |
4 | การซื้อสินค้า / น้ำมันเชื้อเพลิง/ ขาย ผลผลิตระหว่างปีกับสหกรณ์ | 15 คะแนน | ซื้อ/ขายฯ ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ได้ 15 คะแนน ซื้อ/ขายฯ ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ได้ 10 คะแนน ซื้อ/ขายฯ ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ได้ 5 คะแนน ซื้อ/ขายฯ ตั้งแต่ 100 - 999 บาท ได้ 1 คะแนน |
5 | สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ | 10 คะแนน | ชำระเงินสวัสดิการเป็นปัจจุบัน ได้ 10 คะแนน ชำระเงินสวัสดิการค้างไม่เกิน 3 ราย ได้ 5 คะแนน ค้างชำระเงินเกิน 3 ราย แต่ไม่เกิน 10 ราย ได้ 1 คะแนน |
6 | การเข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิก 2 ครั้ง/ ปี หรือร่วมกิจกรรมระหว่างปีกับสหกรณ์ฯ | 20 คะแนน | เข้าร่วมประชุมกลุ่ม ครบทั้ง 2 ครั้ง ได้ 20 คะแนน เข้าร่วมประชุมกลุ่ม 1 ครั้ง ได้ 10 คะแนน ขาดประชุมกลุ่มทั้ง 2 ครั้ง ได้ 0 คะแนน |
รวมคะแนนทั้งสิ้น | 100 คะแนน |
หมายเหตุ
- ได้คะแนน ระหว่าง 85 – 100 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ระดับชั้นที่ 1
- ได้คะแนนระหว่าง 71 – 84 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ระดับชั้นที่ 2
- ได้คะแนนระหว่าง 50 – 70 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ระดับชั้นที่ 3
- ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ระดับชั้นที่ 4
นอกจากนี้จะได้รับเพิ่มเติม คือ
** ได้รับเงินปันผลตามหุ้นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์
** เงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ฯ ระหว่างปี
** มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือ เวลาประสบภัยธรรมชาติ และเสียชีวิต (ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ
ของสหกรณ์ฯ)
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบฝ่ายสินเชื่อ
- คุณกิ่งแก้ว ใบยา ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ มือถือ 089 – 2611315
- คุณชุมพล ท้าวฮ้าย เจ้าหน้าที่สินเชื่อ มือถือ 086 – 1985044
- คุณอวยชัย พุฒหมื่น เจ้าหน้าที่สินเชื่อ มือถือ 063 – 0252890
- คุณพิมพิกา บัวอิ่น เจ้าหน้าที่สินเชื่อ มือถือ 065 – 9355916
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อฝ่ายสินเชื่อ 063-1175435
ฝ่ายบัญชี - การเงิน
การมาติดต่อ ควรนำบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยทุกครั้ง
การฝากเงิน : เจ้าของบัญชีหรือให้ผู้อื่นมาฝากแทนได้
การถอนเงิน : ให้เฉพาะเจ้าของบัญชีที่ลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจถอนได้เท่านั้น ! แต่ในกรณีที่เจ้าของบัญชีมอบอำนาจให้ถอนแทนได้ ต้อง นำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและขอผู้รับมอบอำนาจมาด้วย จึงจะถอนได้
เงินฝากมี 3 ประเภท
- เงินฝากออมทรัพย์ หรือ ฝากเผื่อถอน เปิดบัญชีครั้งแรก ขั้นต่ำ 100.00 บาท จะฝาก– ถอนเงิน เมื่อใด จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่ต้องมียอดเงินคงเหลือขั้นต่ำในบัญชี 100.00 บาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 0.35 บาทต่อปี
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เปิดบัญชีครั้งแรกขั้นต่ำ 1,000.00 บาท ถอนได้เดือนละ 1 ครั้ง ถ้าถอนเกิน 1 ครั้งภายในเดือนเดียวกัน ครั้งต่อไป ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 บาท ของจำนวนเงินที่ถอน (การฝาก – ถอนเงิน ในแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 1,000.00 บาท )
อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์พิเศษ
1,000.00 ถึง 50,000.00 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.40 บาทต่อปี
50,001.00 ถึง 100,000.00 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.45 บาทต่อปี
100,001.00 ถึง 500,000.00 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.85 บาทต่อปี
500,001.00 ถึง 1,000,000.00 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.10 บาทต่อปี
1,000,001.00 บาท ขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.35 บาทต่อปี
- เงินฝากสัจจะออมทรัพย์ เปิดบัญชีครั้งแรก ขั้นต่ำ 00 บาท รับฝากเฉพาะครูและเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4.00 บาท ต่อปี
ฝ่ายการตลาด
ติดต่อประสานงานในด้าน
- ต้องการซื้อวัสดุการเกษตร เช่น ปุ๋ยทุกชนิด ยาปราบศัตรูพืช ฯ ล ฯ
- สินค้าอุปโภคบริโภคและตามความต้องการของสมาชิก
- ปรึกษาการให้สินเชื่อระยะสั้นในรูปวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ
- สอบถามราคาเครื่องจักรกล และอุปกรณ์การเกษตรทุกชนิด
- บริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านโดยไม่คิดค่าบริการ
**หมายเหตุ : ควรแจ้งหมายเลขทะเบียนสมาชิก กลุ่มที่ท่านสังกัดทุกครั้ง ถ้าหากจำไม่ได้ ควรนำสมุดคู่มือเงินกู้มาด้วย เพื่อผลประโยชน์ ของท่านในการรับเงินเฉลี่ยคืนเมื่อสิ้นปีบัญชี
ฝ่ายสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
บริการ จำหน่ายน้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันเครื่องในราคาย่อมเยาว์ !
การรับสมัครสมาชิกสมทบ
- ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (ค่าสมัคร) 50 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- บุคคลธรรมดา การถือหุ้น 20 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 200.00 บาท
มีปัญหาในการรับบริการติดต่อผู้จัดการฝ่ายสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
บริการดี มีน้ำใจ ไรคืน
ฝ่ายแปรรูป - โรงงาน
ปฏิบัติงานในด้าน
- ส่งเสริมพืช
- งานสำรวจสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการฯ และวางแผนการปลูกพืช
- เสนอโครงการฯ ให้ฝ่ายบริหารทราบในแต่ละปีเพื่อขออนุมัติ
- งานควบคุมดูแลโครงการฯ
- งานแปรรูป / เก็บรักษาผลผลิต
- จัดทำแผนการรวบรวมจัดการซื้อ –ขายผลิตผลการเกษตรที่ทางสหกรณ์ส่งเสริม
- ให้คำแนะนำและให้ความรู้และวิธีการปฏิบัติงานตามโครงการฯ ที่สหกรณ์ฯ ส่งเสริม
- จัดทำแผนการรวบรวมผลิตผลนอกฤดูกาล
- จัดหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตที่ทางฝ่ายรวบรวมและส่งออกตามโครงการฯ และนอกโครงการฯ ไปตามแผนงานที่วางไว้
- ส่งเสริมอาชีพ เกษตรอินทรีย์ โดยมีการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ, ปุ๋ยหมัก ออกจำหน่ายแก่เกษตรกรสมาชิกในราคาถูก เพื่อลดการใช้สารเคมี
- โรงงานผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูง และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดตราสหกรณ์ท่าวังผาออกจำหน่าย
ท่านผู้ใดมีปัญหา ? โปรดปรึกษา
ฝ่ายสำนักงาน
ติดต่อประสานงานในด้าน
- เบิกค่ารักษาพยาบาล
*หลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาลของสมาชิก มีดังนี้.-
1.1. เบิกตามระดับชั้น (เบิกจ่ายตามความเป็นจริง)
- ชั้นที่ 1 เบิกได้ไม่เกินปีละ 3,000 บาท คู่สมรส ไม่เกินปีละ 1,000 บาท
- ชั้นที่ 2 เบิกได้ไม่เกินปีละ 2,000 บาท คู่สมรส ไม่เกินปีละ 500 บาท
- ชั้นที่ 3 เบิกได้ไม่เกินปีละ 1,000 บาท (ดอกเบี้ยไม่ค้าง)
- ชั้นที่ 4 เบิกได้ไม่เกินปีละ 500 บาท (ไม่มีต้นเงินผิดชำระและดอกเบี้ยไม่ค้าง)
1.2 ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้ง (ใบเสร็จรับเงิน)ต้องมีระยะห่างกัน 15 วันขึ้นไป
1.3 เบิกได้เฉพาะโรงพยาบาลของรัฐฯ เท่านั้น
1.4 ใบเสร็จรับเงินที่นำมาเบิกค่ารักษาพยาบาล สมาชิกต้องดำเนินการขอเบิกภายใน 90 วัน
นับจากวันที่ในเอกสารใบเสร็จรับเงินนั้นๆ
1.5 ใบเสร็จที่ไม่สามารถเบิกได้คือ ค่ารักษาพยาบาลพิเศษ, ค่าธรรมเนียม ,ค่าบริการอื่นๆ ,
การรักษาเกี่ยวกับทันตกรรม และการตรวจสุขภาพประจำปี
1.6 เอกสารที่ต้องนำมาขอเบิกค่ารักษาพยาบาล
1.6.1 ใบเสร็จรับเงิน (ต้องเป็นใบเสร็จตัวจริงเท่านั้น)
1.6.2 สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ชุด
- เบิกเงินช่วยเหลือสมาชิกที่มีบุตร “แรกเกิด” เป็นเงินฝากออมทรัพย์ขวัญถุง รายละ 500 บาท